วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย





                                       






              ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา


          ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย



                                                   



          ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
          ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
         


                                                  





                ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆมาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง
         

                 ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
          ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
          อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์


                                                   
                                               



ลักษณะของภูมิปัญญาไทย
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย มีดังนี้
          ๑. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม
          ๒. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
          ๓. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน
          ๔. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
          ๕. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
          ๖. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
          ๗. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม
 
 
การเกิดภูมิปัญญา
          ภูมิปัญญาไทยมีกระบวนการเกิดที่เกิดจากการสืบทอด ถ่ายทอด องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ แล้วพัฒนา เลือกสรรและปรับปรุงองค์ความรู้เหล่านั้นจนเกิดทักษะและความชำนาญ ที่สามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย แล้วเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสมและสืบทอดพัฒนาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด เช่น ภาษาไทย แพทย์แผนไทย เป็นต้น
 
 
 
 
 
                                                                 
 
 
ทานตะวัน รัตนมาลากร ม.6/4 เลขที่ 6

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากการกระทำ





โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

         อาการหลงลืมเมื่อย่างเข้าวัยกลางคน เป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่กำลังคุกคามประชากรโลกอยู่อย่างน่าเป็นห่วง องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม ประมาณ 18 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี ค.ศ.2025 ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ในขณะที่ในอเมริกานั้นประเมินว่า 1 ใน 8 ของคนอเมริกามีโอกาสป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต สาเหตุที่แท้จริงของอัลไซเมอร์ ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจน เพียงแต่พบว่าผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์จะมีความผิดปกติของเส้นประสาทในสมอง ทำให้ขัดขวางการทำงานของระบบประสาท รบกวนการส่งสัญญาณต่างๆ ซึ่งส่งผลให้อารมณ์และสมรรถภาพของร่างกายเสื่อมลง 



                                              


ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ คือ
  1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้
  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
  3.  เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
          
             ท่านอาจารย์ดอกเตอร์โยนัส เกดา ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา และคณะจากสถาบันเมโย คลินิก มินเนโซทา สหรัฐฯ ทำในกลุ่มตัวอย่างที่มีความจำเสื่อมแบบอ่อน อายุ 70-89 ปี เกือบ 200 คน เทียบกับกลุ่มที่มีความจำดี
ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีกิจกรรมต่อไปนี้ตั้งแต่วัยกลางคนจะทำให้ความเสี่ยง (โอกาสเป็นโรค) ความจำเสื่อมน้อยลง 40% ได้แก่

1. อ่านหนังสือ
2. เล่นเกมส์ เช่น หมากรุก หมากฮอส ฯลฯ
3. ทำงานอดิเรกที่ใช้ฝีมือ เช่น ถักไหมพรม (knitting) เย็บผ้าเป็นลวดลายต่างๆ (patchworking = เย็บถักปักร้อย) ฯลฯ
4. ดู TV น้อยกว่าวันละ 7 ชั่วโมง... จะทำให้ความจำเสื่อมน้อยลง 50% เมื่อเทียบกับคนที่ชม TV นานกว่านั้น


                                  



เว็บไซต์ WebMD แนะนำวิธีป้องกันสมองเสื่อมอีก 7 วิธีได้แก่

1. ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ > ถ้าสูง... ต้องรักษาให้ต่อเนื่อง
2. ไม่สูบบุหรี่
3. ระวังอย่าให้อ้วนหรือน้ำหนักเกิน เพื่อลดโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
4. ตรวจเช็ดไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอล > ถ้าสูง... ต้องรักษาให้ต่อเนื่อง
5. ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ จะทำคราวละนานๆ หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้นๆ แล้วนำเวลามารวมกันก็ได้ > เวลาที่รวมกันควรเป็นอย่างน้อย 30 นาที วันละ 5 ครั้งขึ้นไป
6. เข้าสังคมพอประมาณ




                                                



พฤติกรรมลดความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมโดยการเลือกทานอาหาร

1.กินทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง และควรกินคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ธัญพืช หรือผักที่มีแป้ง จำพวกลูกเดือย เผือก มันด้วย

2.เลี่ยงอาหารไขมันสูง เป็นไปได้ให้กินอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ก็พอ

3.กินอาหารตามหมวดแป้ง หรือธัญพืชไม่ขัดสีอย่างน้อยวันละ 6 ส่วน ผักผลไม้วันละ 8 - 10 ส่วน โดยมีผักใบเขียวอย่างน้อย 2 ส่วน อาหารที่มีแคลเซียมสูง 3 ส่วน จะเป็นนมพร่องไขมัน หรือนมเสริมแคลเซียมก็ได้ กินถั่วต่าง ๆ มีปลา 2 มื้อ และอาหารที่มีโคลีนสูง เช่น ถั่วเหลืองเสริมวิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอีเพิ่มเติมเลี่ยงแอลกอฮอล์และสารนิโคติน

4.เลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารปรอท ตะกั่ว และโลหะอื่น ๆ






                                           




ทานตะวัน รัตนมาลากร ม.6/4  เลขที่ 6

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันเถอะ

              





              การดูแลรักษาสุขภาพนั้นเป็นที่รู้กันว่ามีผลทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง ซึ่งเราสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การเลือกทานอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น
                 
              แต่สิ่งที่จะมาพูดในวันนี้ก็คือเรื่องการออกกำลังกาย การออกกำลังกายแม้ว่าจะเหนื่อยสักหน่อยแต่ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพมาก ประโยชน์ของการออกกำลังกายนั้นก็ ได้แก่




1. ช่วยทำให้ระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายมีการเคลื่อนไหว แข็งแรง คงทน และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และอดทนยิ่งขึ้น

2. ทำให้ทรวดทรงสง่างาม

3. ทำให้ร่างกายมีการพัฒนาการตามวัยและแข็งแรง

4. ทำให้จิตใจแจ่มใส

5. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจทำงานดีขึ้น เพื่อป้องกันโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และช่วยให้ไม่เป็นลมหน้ามืดง่าย

6. ช่วยผ่อนคลายความเครียด ไม่ซึมเศร้า ไม่วิตกกังวล
สุขภาพจิตดีขึ้น และนอนหลับสบาย

7. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

8. ควบคุมน้ำหนักตัว











        หลายๆคนอาจทราบถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายกันดีอยู่แล้ว แม้ว่าจะรู้ก็ตามแต่เราก็มักจะหาข้ออ้างต่างๆเพื่อไม่ต้องออกกำลังกายกันใช่ไหมล่ะ


ตัวอย่างเช่น  -อ่า.... ขี้เกียจจังไว้วันหลังดีกว่านะ
                     
                    -วันนี้เหนื่อยแล้วไว้วันหลังแล้วกัน


แต่รู้ไหมว่าการออกกำลังกายนั้นง่ายนิดเดียว!! เหมือนประโยคที่ว่า
แค่ขยับ=ออกกำลังกาย


ดังนั้น เราก็หันมาออกกำลังกายในแบบที่ไม่น่าเบื่อกันเถอะ
โดยใช้เพลงที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี นั่นก็คือออออ....!!!!













เพลงของพี่เบิร์ดนั่นเอง....










               เพลง too much so much ที่มีจังหวะไม่ยากเกินไปไม่ว่าจะคนรุ่นไหนๆก็เต้นกันได้อย่างสนุกสนานไม่เบื่อแน่นอน *0*








หรือถ้าไม่อยากเต้นตามพี่เบิร์ดละก็เราก็มีวิธีอื่นๆมาแนะนำค่ะ



-สถานการณ์1 เช่น อยู่บ้านกับน้องหมาที่บ้าน






                                         


           ก็พาน้องหมาออกไปวิ่งเล่นได้นะ หรือวิ่งไล่แข่งกับน้องหมาก็ได้








-สถานการณ์2 นั่งดูทีวีชิวๆ~








                                 




ดูทีวีไปเหวี่ยงแขนหมุนๆไปมาก็ช่วยได้นะ ท่องไว้ว่า ขยับ= ออกกำลังกาย นั่งเฉยๆจะเป็นหมูได้นะเออ






-สถานการณ์ 3 คุยโทรศัพท์กับแฟนนนนน








                                                




                            ก็อย่านั่งเฉยๆไป ลุกบิดเนื้อบิดตัวได้นะ บิด บิด~








สุดท้ายยยยย กับ สถานการณ์ทำงานบ้าน






                                                       


               วิธีนี้จะได้ทั้งออกกำลังกายและบ้านที่สะอาดด้วยนะเอออออ
                                                         หุ่นก็จะงดงามแบบนี้










       เห็นไหมว่าการออกกำลังกายนั้นทำได้ง่ายนิดเดียวและไม่ยากด้วยนะ แถมยังมีหลากหลายวิธีที่ทำให้เราได้ออกกำลังกายและไม่ต้องนำข้ออ้างเดิมๆมาใช้




โปรดท่องไว้...............................






                     แค่ขยับ = ออกกำลังกาย


















                               โดย ทานตะวัน  รัตนมาลากร ม.6/4 เลขที่ 6

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธ์และระบบต่อมไร้ท่อ



                                   ระบบประสาท

         ระบบประสาท คือระบบที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยสมอง เส้นประสาท และไขสันหลัง ทำงานร่วมกัน โดยระบบประสาทแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย
ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกายซึ่งมีทั้งการทั้งการทำงานภายใต้จิตใจและนอกเหนืออำนาจจิตใจ
โดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาท สมองแบ่งเป็น 3ส่วนใหญ่ๆ คือสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย
1.สมองส่วนหน้า เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของร่างกายประกอบด้วย
-ซีรีเบลลั่ม เป็นส่วนของความจำและควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆของร่างกาย
-ทาลามัส ควบคุมพฤติกรรมที่ซับช้อนเกี่ยกับความรู้สึกและอารมณ์
-ไฮโพทาลามัส ควบคุมอุณภูมิของร่างกาย ความหิว , ความกระหายน้ำ , ความเหนื่อย ล้า, ความโกรธ
2.สมองส่วนกลาง เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตา
3.สมองส่วนท้าย ประกอบด้วย
-พอนด์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย
-เมดัลลา ออฟลองกาตา ควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ
-ซีรีลัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
แนวทางการบำรุงระบบประสาท
-ระวังไม่ให้ศีรษะกระทบกระเทือน
- ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง
-หลีกเลี่ยงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมอง
-พยายามผ่อนคลายความเครียด
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย


                                  ระบบสืบพันธุ์
                                              ระบบสืบพันธ์เพศชาย


1.อัณฑะ อัณฑะมี2ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ
2.หลอดเก็บตัวอสุจิ    เป็นที่พักของตัวอสุจิ
3. หลอดนำตัวอสุจิ  ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิส
4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ
5. ต่อมลูกหมาก หลั่งสารบางชนิด เข้าไปในท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรง
6. ต่อมคาวเปอร์หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะ
7. อวัยวะเพศชาย เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ

                                     ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

1.  รังไข่   ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง
2.  ท่อนำไข่  เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
3.  มดลูก  เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว
 4. ช่องคลอด เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารก
การดูแลระบบสืบพันธุ์
-รักษาความสะอาด
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
-งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล


                                    ระบบต่อมไร้ท่อ


ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานประสานกัน โดยอาศัยสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนจะถูกขนส่งไปสู่ อวัยวะทั่วร่างกาย แต่จะออกฤทธิ์หรือมีผลต่ออวัยวะและเซลล์ มีทั้งหมด 9 ต่อม ดังนี้
1.ต่อมใต้สมอง ผลิตฮอร์โมน
2.ต่อมไทรอยด์ ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ
3.ต่อมพาราไทรอยด์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย
4.ตับอ่อน ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ
5.ต่อมหมวกไต
6.ต่อมรังไข่ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน
7.ต่อมไทมัส ทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ่มกันของร่างกาย

การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
-พักผ่อนให้เพียงพอ
-ทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
- เมื่อเกิดความผิดปกติต่อระบบต่อมไร้ท่อควรรีบไปพบแพทย์ในทันที
-ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่


     





จัดทำโดย: ทานตะวัน  รัตนมาลากร ม6/4 เลขที่ 6