วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคที่เกิดจากการกระทำ





โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์

         อาการหลงลืมเมื่อย่างเข้าวัยกลางคน เป็นสัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่กำลังคุกคามประชากรโลกอยู่อย่างน่าเป็นห่วง องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม ประมาณ 18 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี ค.ศ.2025 ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ในขณะที่ในอเมริกานั้นประเมินว่า 1 ใน 8 ของคนอเมริกามีโอกาสป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคต สาเหตุที่แท้จริงของอัลไซเมอร์ ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจน เพียงแต่พบว่าผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์จะมีความผิดปกติของเส้นประสาทในสมอง ทำให้ขัดขวางการทำงานของระบบประสาท รบกวนการส่งสัญญาณต่างๆ ซึ่งส่งผลให้อารมณ์และสมรรถภาพของร่างกายเสื่อมลง 



                                              


ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ คือ
  1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้
  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
  3.  เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
          
             ท่านอาจารย์ดอกเตอร์โยนัส เกดา ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา และคณะจากสถาบันเมโย คลินิก มินเนโซทา สหรัฐฯ ทำในกลุ่มตัวอย่างที่มีความจำเสื่อมแบบอ่อน อายุ 70-89 ปี เกือบ 200 คน เทียบกับกลุ่มที่มีความจำดี
ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีกิจกรรมต่อไปนี้ตั้งแต่วัยกลางคนจะทำให้ความเสี่ยง (โอกาสเป็นโรค) ความจำเสื่อมน้อยลง 40% ได้แก่

1. อ่านหนังสือ
2. เล่นเกมส์ เช่น หมากรุก หมากฮอส ฯลฯ
3. ทำงานอดิเรกที่ใช้ฝีมือ เช่น ถักไหมพรม (knitting) เย็บผ้าเป็นลวดลายต่างๆ (patchworking = เย็บถักปักร้อย) ฯลฯ
4. ดู TV น้อยกว่าวันละ 7 ชั่วโมง... จะทำให้ความจำเสื่อมน้อยลง 50% เมื่อเทียบกับคนที่ชม TV นานกว่านั้น


                                  



เว็บไซต์ WebMD แนะนำวิธีป้องกันสมองเสื่อมอีก 7 วิธีได้แก่

1. ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ > ถ้าสูง... ต้องรักษาให้ต่อเนื่อง
2. ไม่สูบบุหรี่
3. ระวังอย่าให้อ้วนหรือน้ำหนักเกิน เพื่อลดโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
4. ตรวจเช็ดไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอล > ถ้าสูง... ต้องรักษาให้ต่อเนื่อง
5. ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ จะทำคราวละนานๆ หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้นๆ แล้วนำเวลามารวมกันก็ได้ > เวลาที่รวมกันควรเป็นอย่างน้อย 30 นาที วันละ 5 ครั้งขึ้นไป
6. เข้าสังคมพอประมาณ




                                                



พฤติกรรมลดความเสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อมโดยการเลือกทานอาหาร

1.กินทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง และควรกินคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ธัญพืช หรือผักที่มีแป้ง จำพวกลูกเดือย เผือก มันด้วย

2.เลี่ยงอาหารไขมันสูง เป็นไปได้ให้กินอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ก็พอ

3.กินอาหารตามหมวดแป้ง หรือธัญพืชไม่ขัดสีอย่างน้อยวันละ 6 ส่วน ผักผลไม้วันละ 8 - 10 ส่วน โดยมีผักใบเขียวอย่างน้อย 2 ส่วน อาหารที่มีแคลเซียมสูง 3 ส่วน จะเป็นนมพร่องไขมัน หรือนมเสริมแคลเซียมก็ได้ กินถั่วต่าง ๆ มีปลา 2 มื้อ และอาหารที่มีโคลีนสูง เช่น ถั่วเหลืองเสริมวิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอีเพิ่มเติมเลี่ยงแอลกอฮอล์และสารนิโคติน

4.เลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารปรอท ตะกั่ว และโลหะอื่น ๆ






                                           




ทานตะวัน รัตนมาลากร ม.6/4  เลขที่ 6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น